ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
bulletThe Instruction of LP Teean "Self-Awareness"
bulletMaps
bulletRelated Websites
dot
dot
bulletInsight Meditation Experience
bulletThe Method to Develop Awareness
bulletMorning and Evening Chanting
bulletLP Teean 's Books
bulletCDs LP Teean
bulletVDOs LP Teean
bulletVDOs LP Thong
bulletEpigrams LP Teean
bulletEpigrams LP Thong
bulletThe letter from LP Teean
bulletCDs LP Thong
bulletMahasati Meditation by Nithya Shanti
dot
dot
bulletPictures from 49 Days Retreat in Wang Nam Khiao Dec 1 , 13-Jan 18,14
bulletLatest Retreat Information
bulletThe meditation retreat year 2016
dot
dot
bulletWebboard
dot

dot
bulletLP Theen meditation's video



The demonstration by Luang Por Thong

Luang Por Thong, Huangzan, China

Luang Por Thong, Xiamen, China

>

Rebuilding of the natural church 2009

the past view 2003

หลวงพ่อทอง อาภากโร
งานตามรอยหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
ณ วัดสนามใน จ.นนทบุรี
วันที่ 13-15 ก.ย. 2547





สาธิตการสร้างจังหวะ
โดยหลวงพ่อทองฯ



DHAMMA VIDEO ONLINE
ธรรมปฏิบัติแนวการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว


http://watsanamnai.blogspot.com/




วัดทับมิ่งขวัญ
เกาะพุทธธรรม


สวนธรรมสากล
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
http://suandham.blogspot.com


teeanfoundation




koknam


วัดสนามใน

 

วัดสนามใน เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ แนวทางดังกล่าวให้ความสำคัญกับการเจริญสติด้วยการรู้การเคลื่อนไหวหรือเรียกว่า การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว มุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ฝึกเจริญสติโดยการสังเกต หรือเฝ้าดูธรรมชาติรอบตัว สภาพแวดล้อมภายในวัด เต็มไปด้วยต้นไม้ หนองน้ำที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ

ลักษณะพื้นที่วัด มีเนื้อที่กว้าง 80 เมตร ลึก 160 เมตร ติดทางรถไฟ แบ่งออกเป็น 3 เขต ดังนี้ หนึ่งเขตพระสงฆ์ด้านหลัง มีทางเดินจงกรมบนผิวถนนที่ตัดไว้เป็นรูปแปลงนา มีกุฏิสงฆ์ปลูกอยู่ท่ามกลางต้นไม้สูงใหญ่ประมาณ 10 ถึง 20 เมตร ซึ่งขึ้นอยู่หนาทึบ เขตอุบาสกและพระสงฆ์ส่วนด้านหน้า มีทางเดินจงกรมบนผิวถนนที่ตัดไว้ มีศาลาเอนกประสงค์ ศาลาปฏิบัติธรรมกลางแจ้ง ห้องสมุด และศาลารวมใจ เขตอุบาสิกาอยู่ฝั่งซ้ายของวัด เป็นเขตเรือนพักสำหรับอุบาสิกา ญาติโยม ผู้มาปฏิบัติธรรม มีลานจงกรมถมทรายหยาบ สภาพต้นไม้สูงร่มรื่น

 

วัดนี้ไม่ปรากฏที่มาว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด เป็นวัดรกร้างไม่มีพระสงฆ์หรือเณรจำพรรษามาเป็นเวลานาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2519 นายวิโรจน์ ศิริอัฐิ และ มหาสุขสันต์ได้เข้ามาแนะนำวัดนี้แก่หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ ซึ่งในขณะนั้นได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์และกำลังหาสถานที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติกรรมฐานแก่ญาติโยม โดยไม่เน้นการก่อสร้างวัตถุดังเช่นวัดอื่นๆ เมื่อหลวงพ่อเทียนมาดูที่วัดนี้พบว่ามีเพียงร่องรอยของโบสถ์เก่า เจดีย์เก่า ซากอิฐกระจัดกระจายอยู่พอให้เห็นว่าเคยเป็นวัดมาก่อน มีที่ดินเหลืออยู่เฉพาะบริเวณโบสถ์และเจดีย์ นอกนั้นได้ถูกชาวบ้านยึดไปทำกิน หลวงพ่อเทียนพอใจในสถานที่นี้ จึงตัดสินใจที่จะบูรณะให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง 

 

  ลุงเล็ก 74 (นายโภคะ ภิญโญยิ่ง)  :

" สมัยก่อนนั้นกุฏิสร้างคร่อมคูน้ำ เพราะมันเป็นที่ท้องร่องสวนข่อย สวนมังคุด กุฏิฝึกเป็นหลังคามุงจาก นั่งฝึกนี่ได้กลิ่นไอน้ำจากร่องน้ำ ยังไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา ต้องจุดเทียนและรองน้ำฝนไว้ใช้กัน ทางออกจากวัดมีทางเดียวคือ ทางหมู่บ้านสมชาย ถ้าฝนตกน้ำจะท่วมเสมอพระต้องเดินลุยน้ำบิณฑบาตกัน 

คำว่า สนามใน มาจากสนามรบ คือมันเป็นที่นักเลงตีกัน ท้าตีท้าต่อยกันที่นี่ ฆ่ากันตายแล้วเอาศพมาโยนให้รถไฟทับอำพรางคดี เมื่อก่อนนี้ไม่มีการแยกกุฎิหญิงชาย ตอนกลางคืนหลวงพ่อเทียนท่านจะไม่นอน แต่คอยเดินเวรยาม ดูความปลอดภัยให้ญาติโยมซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เพราะมันเป็นที่เปลี่ยวและอันตราย พอมีไฟฟ้าเข้ามาถึงวัด คนก็เริ่มหลั่งไหลเข้าวัดมากขึ้นเรื่อยๆ

ตอนที่มาสร้างวัดหลวงพ่อเทียนท่านมีชื่อเสียงแล้ว ตอนท่านบิณฑบาตแรกๆคนแถวนี้ไม่มีคนรู้จัก คนเริ่มสนใจเพราะท่านสอนไม่เหมือนพระอื่นที่มักเน้นด้านอภิญญาในสมัยนั้น ท่านไม่ให้นั่งหลับตาให้ยกมือทำความรู้สึกตัว ตอนนั้นมีพระจำวัดประมาณ 5 รูป หลวงพ่อท่านจะไม่ฉันก่อนโยม ให้โยมฉันก่อนแล้วท่านจะเทศน์สอนโยมในระหว่างนั้น พออบรมธรรมเสร็จท่านจึงฉันทีหลัง เมื่อก่อนฝึกกันหนักมาก พอฉันเสร็จปุ๊บฝึกเลย ท่านไม่สอนเรื่องอื่นเลยนอกจากให้รู้สึกตัว

พระแบบนี้หาไม่ได้อีกแล้ว ท่านสอนเข้าใจง่าย มีเมตตา ชอบให้ปฏิบัติ คนที่คิดจะฆ่าตัวตายมาหาท่านจะเลิกคิดเลย ท่านพูดกินใจเข้าไปข้างใน  คนที่ได้เคยสนทนากับท่านมักจะไปบอกต่อคนอื่นจึงเพิ่มคนเข้าวัดขึ้นเรื่อยๆ และท่านไม่ใช่ลักษณะของพระบอกบุญเรี่ยไรเงิน ถ้ามาช่วยงานวัด หมายถึงมาด้วยใจ ทำกันฟรีๆ "                                         

                                                                                                                                                 ( สรุปคำบอกเล่าโดย ชมรมต่อเทียน )      

    

บรรยากาศวัดสนามในปี 20ตุลาคม 2548 

 

 

  ป้าพัน 76 (สุทธิพรรณ ทองอยู่)  :

" ป้าเริ่มเข้าวัดตอนเจริญแล้ว เมื่อก่อนศาลาใหญ่ปฏิบัติธรรมเป็นชั้นเดียวใต้ถุนโล่ง หอฉันเป็นเรือนไม้ แต่ก่อนไม่มีแท่นตักอาหารแบบทุกวันนี้นะ เอาอาหารใส่ถาดกระบะเป็นล้อแล้วเข็นเอา พระก็เลือกแกงเป็นถุงๆ ไม่ได้มาจัดเรียงแกงใส่เป็นชามๆอย่างสมัยนี้ การก่อสร้างสมัยก่อนก็ลำบากนะเพราะว่าต้องจอดรถไว้อีกด้านของทางรถไฟแล้วแบกวัสดุก่อสร้างข้ามทางรถไฟกันมา แต่โดยรวมแล้ววัดตอนนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปมากนักจากตอนที่ป้าเข้ามาใหม่ๆตอนปี 2525นะ

หลวงพ่อเทียนท่านไม่พูดคุยเล่น ไม่สุงสิงตีสนิท แต่ท่านใจดี ตอนป้าเข้ามาใหม่ๆพาโยมพ่อมาด้วยอายุรุ่นเดียวกับหลวงพ่อเทียน โยมพ่อประทับใจหลวงพ่อเทียนมากบอกว่า พระรูปนี้เชื่อถือได้เลย เมื่อก่อนคนเข้าวัดเยอะกว่าสมัยนี้นะ คนระดับใหญ่ๆโตๆแวะเวียนมากันหลายคน

หลวงพ่อเทียนท่านสอนทุกคน ใครอยากฝึกก็มา วิธีการของท่านทำให้เราวางใจได้ ทำให้รู้สึกว่าทุกอย่างไม่ค่อยมีความสำคัญ ความทุกข์มันมากับความคิด พอป้ามีปัญหาป้าก็จะยกมือ มันแก้ได้ เราจะไม่อยู่ในความคิด นี่คือที่ได้เรียนรู้จากหลวงพ่อเทียน ท่านไม่รับบริจาค ไม่มีเรี่ยไร ไม่มีมาพูดถึงการสร้างโน่นสร้างนี่ใหญ่โตสิ้นเปลือง หรูหราฟุ่มเฟือยไม่มี พัดลมก็ไม่มี คนมาฝึกสมัยนั้นเค้าก็อยู่กันได้นะ มีเท่าไหร่ก็อยู่กันไป ท่านกินง่ายอยู่ง่าย ท่านไม่ค่อยรับกิจนิมนต์ สวดมนต์ไม่ค่อยเน้น เดินจงกรม นั่งสร้างจังหวะ ฝึกปฏิบัติให้มากๆอย่างเดียว สอนบ่อยๆว่า คิดให้รู้ ให้รู้จักเตือนตัวเองดูตัวเอง

เรานึกถึงบุญคุณวัด นึกถึงบุญคุณหลวงพ่อเทียน ทำให้อยากมาวัด โชคดีบ้านป้าอยู่ใกล้วัดสนามใน ฝนตกฟ้าร้องก็มามันได้ประโยชน์จริงๆ "

                                                                                                                                                        ( สรุปคำบอกเล่าโดย ชมรมต่อเทียน ) 




วัดสนามใน




Copyright © 2010 All Rights Reserved.

Sanamnai Temple 27 Moo 4 Tambon Watchalor, Ampher Bangkruay,
Nonthaburi province 11130 Thailand
Tel : (66) 2-0094853 , (66) 2 8837251 Fax : (66) 2 8837275
Website : www.watsanamnai.org
email : info.watsanamnai@gmail.com